วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

การออกแบบงานกราฟฟิก : การออกแบบและการสื่อความหมาย

การออกแบบงานกราฟฟิก : การออกแบบและการสื่อความหมาย

สิ่งสำคัญที่สุดของงานศิลปะ โดยเฉพาะงานออกแบบกราฟิกคือ การสื่อความหมายสื่อสิ่งที่นักออกแบบคิดหรือพยายามถ่ายทอดออกมาได้ เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์หรือโจทย์ที่ตั้งขึ้มา ใครก็ตามที่ตัดสินคุณค่าของงานออกแบบเพียงแค่คำว่า "สวย" และ "ไม่สวย"เป็นตัวกำหนดงานว่า "ดี" และ "ไม่ดี" ใครคนนั้นกำลังคิดผิด เพราะคุณค่าของงานออกแบบที่ดี ไม่ได้มองกันที่ความสวยงาน (Aesthetic) เพียงอย่างเดียว ความสวยงามเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานเท่านั้น (ซึ่งเป็นส่วนที่ไม่มีเกณฑ์การตัดสินที่แน่นอนด้วยซ้ำ เพราะเกณฑ์การตัดสินเรื่องความสวยงามขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคน)

ในการสื่อความหมายนี้เองที่ผู้สร้างงานถือว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรู้โจทย์ว่าคืออะไร อาจจะไม่ต้องรู้สึก (แต่การรู้ยิ่งลึกจะทำให้ออกแบบได้ตรงตามโจทย์มากขึ้น) แต่แค่รู้จักก็พอ เพราะการรู้จักโจทย์ของตัวงานทำให้เรามีเกณฑ์ในการตัดสินงานออกแบบในด้านการสื่อความหมายขึ้นในใจ ยกตัวอย่างเช่น รู้ว่าร้านซักผ้าที่ดีควรจะมีภาพลักษณ์ของความสะอาด คราวนี้เราลองมาอยู่ในฐานะผู้ออกแบบกันดูบ้าง เพื่อเรียนรู้ หลักในการออกแบบงานกราฟฟิก เพื่อให้งานสื่อความหมายตามที่โจทย์ต้องการ
หลักสำคัญในการออกแบบภาพให้สื่อความหมายนั้นเราจะต้องจับประเด็นสำคัญของโจทย์ หรือตีโจทย์ที่เรามีออกมาให้ได้ก่อน อาจจะใช้คำสำคัญ (Keyword) เป็นจุดกำเนิดในการคิดก่อน ลองพูดออกมาเรื่อยๆ และเขียนเก็บไว้จากนั้นค่อยเอาที่เขียนเก็บไว้มาลองพิจารณาสร้างความคิด เชื่อมโยงแบบอุปมา

อุปไมย (Metaphor) ซึ่งอาจทำให้เราเห็นภาพ
คร่าว ๆ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบต่อไปได้
เหมือนเราต้องถามตัวเองอยู่เสมอว่า "เมื่อเราพูดถึงสิ่งนี้แล้ว เราจะคิดถึงอะไร ? "
เราลองมาดูงานตัวอย่างกันดีกว่าเผื่อจะมองเห็นภาพที่ชัดเจนและเข้าใจมากขึ้น

โจทย์ : "งานออกแบบเครื่องหมายการค้า ร้านซักผ้า Point Wash"
Keyword : (คิดดูว่า ถ้าเราพูดถึงร้านซักผ้า เราจะนึกถึงอะไร ?)
ซัก น้ำ ความสะอาด ฟอง ผงซักฟอก
ภาพ : ความสะอาด การซักผ้าแสดงฟองแห่งความสะอาดที่ล่องลอย
ตีความหมายภาพ : ความสะอาด = สีขาว ,น้ำ = สีฟ้า
ฟองผงซักฟอก = วงกลมเล็ก ๆ ที่ล่องลอย
สรุป : การออกแบบภาพน่าจะใช้สีโทนเย็นเป็นหลัก ส่วนองค์ประกอบ
ในภาพอาจจะใช้หยดน้ำที่สื่อถึงความสดชื่นของผลิตภัณฑ์

ผลงานที่ได้ เป็นภาพลักษณ์ที่มีการเล่นตัวอักษร เสมือนกำลังอยู่ในน้ำกำลังถูกเครื่องซักอยู่ ผนวกกับวงกลมเม็ดเล็ก ๆ ที่เปรียบได้กับฟองผงซักฟอกภาพลักษณ์โดยรวมของโลโก้เป็นสีขาวและสีฟ้าอ่อน ซึ่งสื่อความหมายถึงการชะล้างและความสะอาด

ในการออกแบบกราฟิก การสื่อความหมายเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรข้ามไป การสื่อความหมายที่ดีต้องตอบสนองแนวความคิดที่เราวางกันไว้แต่ต้นในการออกแบบเชิงพาณิชย์ (Commercial Art) การสื่อความหมายเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เช่น โปสเตอร์ร้านอาหาญี่ปุ่น ถ้าออกแบบให้คนเห็นแล้วนึกถึงและอยากทานอาหารญี่ปุ่นในร้านได้ รับรองว่างานออกแบบชิ้นนั้นประสบความสำเร็จไปกว่าค่อนแล้ว ถึงอาจจะไม่สวยเท่าไหร่นักก็ตาม งานออกแบบจึงเป็นศิลปะที่สื่อสารกันระหว่างมนุษย์ (Commercial Art)เช่น สื่อสารระหว่างเจ้าของร้านที่ต้องการให้คนเข้ามาทานอาหารกันคนทั่วไปที่อยากทานอาหาร หรือจะเป็นระหว่างเจ้าของผลิตภัณฑ์กับลูกค้า เป็นต้น

ขอบคุณข้อมูลจาก http://student.nu.ac.th

การออกแบบงานกราฟฟิก : ภาษาภาพและการรับรู้ภาพ

การออกแบบงานกราฟฟิก : ภาษาภาพและการรับรู้ภาพ

ภาษาภาพและการรับรู้ภาพ Visual Language & Perception Image
ก่อนจะไปถึงเรื่องความหมายของภาพและองค์ประกอบภายในภาพ ( 2 สิ่งที่นักออกแบบกราฟิกหรือผู้สนใจงานกราฟิกต้องรู้จัก) เราจะมาพูดเรื่องของภาษาและการรับรู้ภาพกันก่อนว่ามีแบบไหนบ้าง

ภาษาภาพ (Visual Language)
มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมที่มีความต้องการใช้ชีิวิตอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อนเป็นกลุ่มสังคม ดังนั้นจึงแทบเป็นไปไม่ได้ที่มนุษยจะหลีกหนีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันมนุษย์จึงมีการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร

สร้างความเข้าใจระหว่างกันและกัน
ตัวภาษามีจุดสำคัญอยู่ที่การสื่อความหมายให้มีความเข้าใจตรงกัน เ่ช่น เรามีภาษาพูดที่ใช้สื่อสารระหว่างกัน และเป็นภาษาที่เราเลือกใช้ได้ง่ายที่สุดแค่เปล่งเสียงออกมาเท่านัี้้น แต่ลองนึกภาพ ถ้าสมมติว่าเช้าวันหนึ่งเราตื่นขึ้นมากลางกรุงเม็กซิโกเราจะพูดกับใคร พูดกันอย่างไร ...........
ภาษาพูดจึงมีข้อจำกัด โดยเฉพาะข้อจำกัดในกลุ่มคนที่ใช้ภาษาพูดคนละภาษา(หลายคนอาจจะพูดว่าภาษาอังกฤษก็น่าจะเป็นสื่อกลางได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ส่ายหน้าปฎิเสธ) ภาษาพูดไม่สามารถทำให้คนสามารถเข้าใจได้ตรงกันทั่วโลก มนุษย์จึงใช้วิธีการสื่อสารระหว่างกันทางอื่นนั่นก็คือภาษาภาพ ซื่งเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

การรับรู้ภาพ (Perception Image)
การรับรู้ภาพเกิจากการมองเห็นด้วยตาเป็นด่านแรก ผ่านการประมวลผลจากสมองและจิตใจ เป็นการรับรู้และทำความเข้าใจ มีความหมายของใครของมัน และการรับรู้ของแต่ละคนขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การมองงานมาก ๆ กาพยยามสร้างความเข้าใจภาพเปรียบเหมือนเรายิ่งฝึกพูด ฝึกฟัง ภาษาอังกฤษบ่อย ๆ ก็จะทำให้เก่งภาษาอังกฤษได้นั่นเอง

เราแบ่งภาพที่รับรู้ได้ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ

ภาพที่เราเห็น (Visual Image)
ภาพที่เราเห็นคือ ภาพที่ผ่านสายตากระทบโสตประสาทของเรา จากแบบภาพตัวอย่างข้างต้น เราเห็นดาวเคราะห์น้อยกลม ๆ เห็นพื้นสีทำ และ มีดาวเคราะห์สีฟ้าครึ่งดวง
ภาพที่เรานึกคิด (Conceptual Image)
ภาพที่เรานึกคิดคือ ภาพที่ผ่านการมองเห็น ผ่านขบวนการประมวลผลจากสมองแล้วเลยนึกสร้างเป็นภาพอื่นตามขึ้นมาจาก ดูจากรูปตัวอย่างข้างบน เราจะมองเห็นว่าดาวเคราะห์สีำ้น้ำเงิน ถูกปิดบังด้วยพื้นสึดำ และมีเส้นโค้งที่ดำทับบนดาวเคราะห์ที่อยู่ข้างหลัง ทำให้เรานึกจิตนาการเอาเองว่า ส่วนที่อยู่ในความมืดคือดาวเคราหะ์สีน้ำเงินทั้งดวง

ขอบคุณข้อมูลจาก http://student.nu.ac.th